คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning media 14 (27.11.2019)




Activities 1

          สัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำสื่อกลุ่ม และสื่อเดี่ยวกับเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมาย  วันนี้อาจารย์ได้ให้นำมาส่ง และนำเสนอ

สื่อกลุ่ม


กลุ่มเครื่องกล " บ่อตกปลา "


กลุ่มแสง " โรงละครหุ่นเงา "


กลุ่มน้ำ " กังหันน้ำ "





กลุ่มอากาศ  " ปืนอัดอากาศ "


กลุ่มหินดินทราย " เครื่องกรองน้ำ "


กลุ่มเสียง " กีตาร์ "


สื่อเดี่ยว


เครื่องกล

1. คานดีด               ( อ้อม )
2. รถไขลาน             ( เตย )
3. เขาวงกต             ( เอิร์น )
4. เครื่องบินร่อน        ( แนน )
5. เรือใบพัด             (ออม )


แสง

1. นาฬิกาแสนรู้         ( เป้ )
2. กล้องรูเข็ม           ( นุช)
3. กล้องสลับลาย       (ครีม )
4. กระดาษเปลี่ยนสี     ( แนน )
5. กล้องละลานตา       ( รัก )


น้ำ

1. พายุทอร์นาโด        ( โนอาร์ )
2. นักดำน้ำ              ( กิ๊ฟ )
3. ทะเลในขวด          ( เมย์ )
4. ตู้กดน้ำจำลอง        ( ดิฉัน )


อากาศ

1. โฮเวอร์คราฟลูกโป่ง          ( แพม )
2. ตุ๊กตาลมคืนชีพ               ( เตย )
3. รถพลังลม                    ( ป่าน )
4. เครื่องดูดจอมกวน           ( เบนซ์)

 


ดินทราย

1. ถาดหลุมหิน                  ( หญิง )
2. บิงโก                          ( ป๊อป )
3. เครื่องเขย่าเสียง              ( รีเจนซี่)
4. นาฬิกาทราย                  ( กวาง )
5. เครื่องเคาะจังหวะจากทราย   ( แพรว )


เสียง

1. แตช้าง                ( ป๊อปอาย )
2. ผลไม้หลากสี         ( ดาว )
3. เครื่องเคาะจังหวะ    ( เจนนี่ )
4. เครื่องดนตรี         ( อิงดาว )




                  หลังจากที่นำเสนอแต่ละกลุ่ม / เดี่ยว เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็จะมีคำแนะนำและข้อเสนอต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลองเปลี่ยนหรือทำใหม่ การเปลี่ยนคำพูดใหม่ๆในการนำเสนอเพื่อให้ดูเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น หรือแนะนำและบอกเกี่ยวกับหลักการวิทยาศาสตร์ในสื่อนั้นๆ และเป็นอันจบการเรียนการสอนในคาบนี้



Knowladge

กลุ่มเครื่องกล

คาดดีด 
           หลักการของการเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีการจัดเรียงและจุดหมุนที่จุดใดจุดหนึ่งบนคานการออกแรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดหมุน จะมีมุมระหว่างแรงกระทำกับระยะห่างจากมุมหมุน ทำให้คาดดีดได้
รถไขลาน
           จะมีพลังงานสะสมอยู่ เรียกว่า   (พลังงานศักย์ยืดหยุ่น) เมื่อทำการปลดปล่อยสปริงจ ากพลังงานศักย์ยืดหยุนจะเป็นพลังงานจล ทำให้รถเคลื่อนที่
เรือใบพัด
           หลักการของเรือใบพัดการใช้พลังงานศักย์ที่เป็นพลังงานที่สะสมและการยืดหยุ่นของยางจะทำให้ใบพัดหมุนและเกิดแรงขับเคลื่อนทำให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
กลิ้งแล้วลงรู
           จะเป็นการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลก บริเวณที่ลาดชันมากเกิดการเปลี่ยนแปลง และมีแรงมาดึงดูดวัตถุนั้นจะเคลื่อนที่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่ความลาดชันทำให้กลิ้งแล้วลงรู
จรวด
           การที่เครื่องบินหรือจรวดอยู่ในอากาศนั้น หลักการที่เกี่ยวข้อง คือ จุดศูนย์ถ่วง


 กลุ่มแสง

กล้องแสงแสง
           แสงในธรรมชาติของเรามีสีขาว คือแสงสีขาว ภายในแสงสีขาวจะมีสีต่างๆ เมื่อมีวัตถุตกกระทบจะทำให้เราเห็นสีต่างๆ
กล้องรูเข็ม
       หลักการ คือ แสงที่ตกกระทบกับวัตถุ เดินทางผ่านตัวกลางคือกระดาษไขและผ่านรูเล็ก แวงจะตกกระทบ แล้วแสดงภาพเป็นหัวกลับ
กล้องสลับลาย
กล้องละลานตา
    แสงจะผ่านวัตถุที่อยู่ข้างใน ปละสะท้อนกระจกเงาด้านในกลับมาทำให้เห็นลวดลายต่างที่สวยงาม


กลุ่มน้ำ

ขวดน้ำทอนาโด 
           การหมุนของน้ำและฟองอากาศในการใช้แรงหมุนของมือ ทำให้มีแรงมากระทำต่อขวดน้ำที่มีน้ำท เกิดการเคลื่อนในแนววงกลม มีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้กลายกับพายุหมุน
เรือดำนำ
           การบีบขวดน้ำทำให้ปริมาตรที่มีน้ำอยู่ในขวดลดลง และมีแรงดันมากขึ้น ทำให้มีน้ำหนักจึงจม เมื่อแรงดันน้ำลดลง น้ำจะออกจากปากกาเบาจึงลอยขึ้น
ทะเลในขวด
           เมื่อสารที่ต่างกัน จะทำให้เกิดการแยกตัว เมื่อโยกไปมาทำให้เกิดคลื่นในทะเล น้ำมันจะลอยตัวขึ้นเหนือน้ำเนื่องจากน้ำหนักหรือมวลน้อยกว่าน้ำ
ตู้กดน้ำจำลอง
    เมื่อเปิดผาขวดน้ำทำให้น้ำไหล เนื่อจากเราเปิดฝาขวดทำให้อากาศเข้าไป มีแรงดัน ทำให้น้ำไหลออกมา เมื่อปิดผา น้ำจะหยุดทันที


กลุ่มอากาศ

โฮเวอร์คราฟท์ ลูกโป่ง
         เมื่อเป่าลูกโป่งให้โตเต็มที่แล้วปล่อยลมออก ทางเดือยที่สวมติดกับลูกโป่ง ลมจะพุ่งออกมา ทางใต้ฐานของโฮเวอร์คราฟท์ ทําให้โฮเวอร์คราฟท์ ยกตัวขึ้น เพราะอากาศจากลูกโป่งแผ่กระจายออก ระหว่างพื้นกับผิวใต้ฐาน มีผลทําให้แรงเสียดทาน ระหว่างผิวสัมผัสของฐานกับพื้นลดลง แรงผลักในแนวนอนจึงดันให้โฮเวอร์คราฟท์เคลื่อนที่ไปจนลูกโป่งแฟบ เพราะอากาศภายในหมด
ตุ๊กตาลมคืนชีพ 
             เป็นทดสอบแรงดันอากาศเมื่อดูดอากาศเข้าไป อากาศที่อยู่ภายใน จะมีแรงกะทำทำให้ถุงยุบเข้าไปในแก้ว ในขณะที่เป่า อากาศเราเข้าไป ทำให้แรงดันภายในแก้ว ทำให้ถุงพองตัว
รถพลังลม
           หลักการ คือการเคลื่อนที่ แรงปฎิกิริยาที่มีขาดที่เท่ากับแรงกิริยา แรงดันลมที่ออกจากลูกโป่งจะมีแรงเท่ากับรถด้วย

เครื่องดูดอากาศจอมกวน
          แรงดันอากาศที่เราเป่าลูกให้พองตัวขึ้น  เป็นเพราะในขวดมีปริมาตรลดลง อากาศภายนอกมากระทำ จึงไหลเข้าไปทำให้หลอดที่เป่าลูกโป่งพองขึ้น


กลุ่มหินดินทราย

ถาดหลุมหิน
      วัตถุต่างๆมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลก ที่ลาดชันเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงสู่ต่ำไปสูง
นาฬิกาทราย  
           วัตถุต่างๆมีการเคลื่อนที่ตามแรงดึงดูดของโลก  เมื่อเราต้องการใส่วัตถุที่ปริมาณแล้วกำหนดเวลาก็จะทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลง
เครื่องเขย่าจากหิน
เครื่องเคาะจังหวะจากทราย
           เสียง เกิดจากการสั่นสะเทือน ของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่น ก็จะทำให้เกิดการอัดตัว  ทำให้เกิดเสียง


กลุ่มเสียง

แตรช้าง
           เมื่อเป่าอากาศเข้าไป ทำให้ลมวิ่งเข้าไปทำให้ลูกโป่งสั่น  ลมที่ไปเข้าไปอีกรอบ เกิดวังวน ของอากาศที่อยู่ เกิดการสั่นสะเทือน เกิดเสียงกังวาล
ผลไม้หลากสี
เครื่องเคาะจังหวะ
เครื่องดนตรี
           เป็นเสียงที่ได้รับการสั่นสะเทือน เมื่อวัตถุสั่น ก็จะทำให้เกิดการขยาตัวของคลื่นเสียง ทำใหเกิดเสียง


แบบประเมิน

แบบประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้คำแนะนำ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
แบบประเมินเพื่อน   เพื่อนๆ ทุกคน ช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มได้ดี ช่วยกันคิด วางแผน

แบบประเมินตนเอง  ได้ช่วยเพื่อนคิด วางแผนการทำงาน คอยแนะนำระหว่างการทำกิจกรรม



คำศัพย์

1. Water          น้ำ
2. Sand           ทราย
3. Soil            ดิน
4. Air             อากาศ
5. Stone          หิน

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning media 13 (20.11.2019)



Activities

           วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ต้องย้ายของจากตึกคณะเก่ามาตึกคณะใหม่ ทำให้ไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ และอาจารย์นัดคุยเกี่ยวกับงานที่ค้างคาแล้วยังต้องส่งภายในอาทิตย์หน้า เป็นสื่อการสอนกลุ่มและเดี่ยว


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Learning media 12 (06.11.2019)












 Activities


          วันนี้อาจารย์ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ โดยเป็นการไปจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ เนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วได้มีการทำกิจกรรมไปแล้ว 3 กลุ่ม ซึ่งในสัปดาห์นี้กลุ่มของดิฉันได้รับหน้าที่เป็นกลุ่มสนุบสนุน จะมีหน้าที่เป็นคนคอยให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมของเพื่อนๆ มีหน้าที่แบ่งกลุ่มเด็กๆ และ ดูแลเด็กๆในขณะที่เด็กๆทำกิจกรรม  เด็กๆมีการเวียนกลุ่ม เข้ามาทำกิจกรรม ในแต่ละฐาน เด็กๆจะได้ทำกิจกรรมครบทุกฐาน และได้ความรู้มากๆ ส่วนท้ายกิจกรรม เรามีการสอนเด็กๆร้องเพลง และเล่นเกมด้วย






หลังจากจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเล่านิทานให้เด็กๆฟังก่อนกลับอีกด้วย นิทานที่นำมาเล่าให้เด็กๆฟังคือเรื่อง ลูกวัวขี้เกียจ







Learning media 15

แผนผังความคิด สรุปเทคนิคการสอนวิทยาสตร์ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ส่งเสริมฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต 2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศา...