คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Learning media 10 (16.10.2019)




Activities 1

           วันนี้อาจารย์ให้ออกมาทำการทดลองอีกครั้งก่อนที่จะออกไปทำการทดลองกับเด็กๆ ในสถานที่จริง และถือเป็นการเตรียมความพร้อมของแต่ละกลุ่มด้วย















Activities 2

ภาพเคลื่อนไหว

  1. อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ตัดครึ่งตามแนวยาว
  2. นำกระดาษที่ตัดครึ่งมาพับตามแนวนอน โดยให้กระดาษด้านบนเกินด้านล่าง
  3. จากนั้นให้วาดรูปลงบนกระดาษ โดยให้เป็นภาพที่มีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน
  4. เมื่อเราเปิด ปิด กระดาษไปมาสลับการเร็วๆ จะทำให้เราเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว


Activities 2

ภาพหมุน 



  1. นำกระดาษที่เหลือจากการทำกิจกรรมที่ 1 มาตัดครึ่ง
  2. จากนั้นให้วาดรูปสิ่งที่สัมพันธ์กัน ลงในกระดาษทั้ง 2 แผ่น และวางในตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน
  3. สุดท้ายทำก้าน เพื่อใช้หมุน โดยทำจากเศษกระดาษที่เหลือ


Activities 3




          อาจารย์ให้ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษที่เหลือจากการทำกิจกรรม โดยให้ประดิษฐ์ของเล่น ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาตร์แล้วให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
           ดิฉันเลือกทำเสื้อจากกระดาษ ซึ่งสามารถใช้สอนเด็กในเรื่องสีได้ ซึ่งเมื่อให้แสงสีขาวตกกระทบวัตถุต่าง ๆ เราจะเห็นวัตถุมีสีแตกต่างกัน การมองเห็นสีต่าง ๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับ เซลล์รูปกรวยในเรตินาของตาแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีกที่มีอิทธิพลต่อการเห็นสีของวัตถุ คือ การที่จากนั้นผ่านสีต่าง ๆ ของตัวกลาง ก่อนเข้าสู่ตาเรา เช่น แสงขาวของดวงอาทิตย์ เมื่อผ่านปริซึม จะมองเห็นแสงสีถึง 7 สี เป็นต้น หรือ แสงสีต่าง ๆ ผ่านแผ่นกรองแสงสี เพื่อต้องการให้ได้แสงสีที่ต้องการ 


Knowladge

              Activities 1 ⇨  เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

          Activities 3 ⇨  ในกรณีที่แสงขาวตกกระทบวัตถุทึบแสง วัตถุนั้นจะดูดกลืนแสงแต่ละสีที่ประกอบเป็นแสงขาวนั้นไว้ในปริมาณต่าง ๆ กัน แสงส่วนที่เหลือจากการดูดกลืนจะสะท้อนกลับเข้าตา ทำให้เราเห็นวัตถุเป็นสีเดียวกับแสงที่สะท้อนมาเข้าตามากที่สุด ตามปกติวัตถุมีสารที่เรียกว่า สารสีทำหน้าที่ดูดกลืนแสง วัตถุที่มีสีต่างกันจะมีสารสีต่างกัน การเห็นใบไม้เป็นสีเขียว เป็นเพราะใบไม้มีคลอโรฟิลเป็นสารดูดกลืนแสงสีม่วงและสีแดง แล้วปล่อยแสงสีเขียวและสีใกล้เคียงให้สะท้อนกลับเข้าตามากที่สุด ส่วนดอกไม้ที่มีสีแดงเพราะดอกมีสารสีแดงซึ่งดูดกลืนแสงสีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียวส่วนใหญ่ไว้ แล้วปล่อยให้แสงสีแดงปนสีส้มและสีเหลืองให้สะท้อนกลับมาเข้าตามากที่สุด ส่วนสารที่มีสีดำนั้นจะดูดกลืนแสงทุกสีที่ตกกระทบทำให้ไม่มีแสงสีใดสะท้อน กลับเข้าสู่ตาเลย เราจึงเห็นวัตถุเป็นสีดำ แต่สารสีขาวนั้นจะสะท้อนแสงทุกสีที่ตกกระทบ

         

คำศัพท์

1. Color                สี
2. Absorb              ดูดกลืน
3. Gleam               แสงสว่าง
4. Invent               คิดค้น
5. Create               สร้าง


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำปรึกษา และแนะนำเทคนิคการสอนต่างๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจคิด และร่วมกิจกรรมตามที่อาจารย์มอบหมาย
ประเมินตนเอง : ตั้งใจร่วมกิจกรรมในห้อง หมั่นถาม-ตอบ อาจารย์ และเพื่อนๆ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning media 15

แผนผังความคิด สรุปเทคนิคการสอนวิทยาสตร์ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ส่งเสริมฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต 2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศา...