คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning media 8 (18.09.2019)



Activities 1




           วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาทำการทดลองหน้าชั้นเรียน ตามที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้ เพื่อให้สามารถตรงกับทักษะวิทยาศาสตร์ 13 ประการ

กลุ่มที่ 1 : ลูกโป่งพองโต



อุปกรณ์
1. ขวดแก้ว
2. กรดมะนาว
3. เบคกิ้งโซดา
4. ลูกโป่ง
5. น้ำเปล่า
6. ช้อนโต๊ะ
7. แก้วเปล่า

วิธีการทดลอง
1. เทเบคกิ้งโซดาลงไปในขวดแก้วทั้ง 3 ขวด ขวดละ 1 ช้อน
2. เทกรดมะนาวลงในขวดที่เทเบคกิ้งโซดาลงไป โดนแต่ละขวดจะใส่กรดมะนาวในปริมาณที่ไม่เท่ากัน โดยที่ ขวดที่ 1 ใส่ 1 ช้อน ขวดที่ 2 ใส่ 2 ช้อน ขวดที่ 3 ใส่ 3 ช้อน
3. เทน้ำเปล่าลงไปในขวดแล้วนำลูกโป่งมาปิดที่ปากขวดแต่ละขวด
4. สังเกตลูกโป่งของแต่ละขวด

 ผลจากการทดลอง
            การทดลองนี้มีสารที่เด็กๆ รู้จักมาบ้างแล้วจากการทดลองที่ผ่านมา คือ ผงฟู เบคกิ้งโซดา กรดมะนาว เราได้ทำการทดลองโดยใส่สารที่มีปริมาณแตกต่างกัน ให้เด็กสังเกตและเมื่อเติมน้ำหรือเปลี่ยนเป็นน้ำมะนาว   บ้าง น้ำส้มสายชูบ้าง ให้เด็กสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง ความแตกต่าง คุณครูได้จดบันทึกคำพูดของเด็กๆ แทบไม่ทันทีเดียว หลังจากนั้นก็ใช้สารทุกชนิดใส่ในแต่ละขวด ใส่น้ำหรือน้ำส้มสายชู สังเกตลูกโป่งแต่ละลูก


กลุ่มที่ 2 : ภูเขาไฟลาวา



อุปกรณ์
1. ปล่องภูเขาไฟที่ทำจากขวดน้ำและดินน้ำมัน
2. ถาดลองภูเขาไฟ
3. สีผสมอาหาร
4. น้ำส้มสายชู
5. เบคกิ้งโซดา

วิธีการทดลอง
1. เทสีผสมอาหารลงไปในภูเขาไฟ
2. เทน้ำส้มสายชูลงไป
3. เทเบคกิ้งโซดาตามลงไป
4. สังเกตสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ผลจากการทดลอง
          ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเบคกิ้งโซดา ( ด่าง / เบส ) และน้ำส้มสายชู ( กรด ) ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดันตัวออกนี้เองที่ทำให้เกิดภูเขาไฟลาวาของเรานั้นเอง

กลุ่มที่ 3 : การลอยจมของน้ำมัน (กลุ่มดิฉัน)





อุปกรณ์
1. ช้อน
2. น้ำ
3. น้ำมัน
4. ก้อนหิน
5. โหล ( สำหรับใส่ส่วนผสม )

วิธีการทดลอง
1. เทน้ำใส่โหล
2. เทน้ำมันตามลงไป
3. ตักก้อนหินเทลงไป 1 ช้อน
4. ปิดฝาขวกโหล และทำการเขย่าขวดโหล
5. สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          จากาารทดลองจะเห็นได้ว่า น้ำ น้ำมัน ก้อนหิน ได้แยกชั้นกันอย่างชัดเจนเพราะน้ำมันมีน้ำหนักหรือความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงลอยขึ้น และก้อนหินมีน้ำหนักและความหนาแน่นมากกว่าน้ำจึงทำให้ก้อนกชหินจมลงไปอยู่ข้างล่างของโหล
          ที่วัตถุแต่ละชนิดไม่ผสมกัน และแยกตัวออกจากกันอย่างชัดเจน เพราะวัตถุแต่ละชนิดมีความเป็นอิสระ


กลุ่มที่ 4 : การแยกเกลือกับพริกไทย



อุปกรณ์
1. ผ้าขนสัตว์
2. กลือเม็ดขนาดปานกลาง
3. พริกไทยป่น
4. ชามใบเล็ก

การทดลอง
1. ผสมเกลือและพริกไทยลงในถ้วยใบเล็ก
2. ถูช้อนพลาสติกด้วยผ้าขนสัตว์
3. ถือซ้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลืออย่าถือช้อนไว้ใกล้กับส่วนผสมมากเกิน
4. สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          ปรากฏการณ์หลายอย่างในชีวิตจำวันของเรานั้นมีสาเหตุจากไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิตเป็นประโยชน์กับเราเราจะแยกสารทั้งสองออกจากกันได้อย่างไรจึงทำการทดลองสร้างไฟฟ้าสถิตแล้วใช้ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นแยกเกลือและพริกไทยออกจากกันได้ โดนพริกไทยจะลอยขึ้นมาติดช้อน และเกลือจะค่อยๆหลุดลงมา


กลุ่มที่ 5 : ภาพเคลื่อนไหวในแสงสีแดงและสีเขียว



อุปกรณ์
1. ปกใสสีแดง และ สีเขียว
2. สีไม้สีแดง และ สีเขียว
3. กระดาษ A4

การทดลอง
1. วาดรูปลงในกระดาษโดยใช้สีไม้สีแดงและสีเขียว
2. นำปกใสสีแดงวางทับบนกระดาษที่เราได้ทำการวาดรูป
3. เปลี่ยนเป็นนำปกสีเขียววางทับกระดาษที่เราวาดรูป
4. สังเกตุและเปรียบเทียบข้อแตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          มีการเปลี่ยนสีของสีไม้เป็นสีดำ ถ้าใช้สีเดียวกันปิดสีเดียวกันเพราะเป็นการดูดกลืนแสงทำให้ไม่มีแสงส่งมากระทบที่ดวงตาของเราทำให้เรามองไม่เห็นสี
          เมื่อใช้ปกใสสีเขียววางทับส่วนที่วาดด้วยสีไม่สีแดง แสงสีเขียวจะดูดกลืนแสงสีแดงกลายเป็นสีดำ


กลุ่มที่ 6 : ลูกข่างแสนสนุก



อุปกรณ์
1. แผ่นซีดี
2. กระดาษที่ตัดคล้ายแผ่นซีดี
3. สีไม้
4. ลูกแก้ว
5. กินน้ำมัน
6. ปืนกาว

การทดลอง
1. ระบายสีลงในกระดาษที่เตรียมไว้ ให้เต็มแผ่น
2. นำกระดาษที่ระบายสีเรียบร้อบแล้วติดลงบนแผ่นซีดี
3. นำลูกแก้วไปติดไว้ตรงรูของแผ่นซีดีด้านล่างแล้วใช้ดินน้ำมันยึดและใช้ปืนกาวยิงอีกที
4. ทำการหมุนแผ่นซีดี แล้วสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          จากการทดลองจะเห็นได้ว่า สีที่เราระบายลงบนแผ่นกระดาษนั้น พอเราหมุนลูกข่างแล้วสีทั้งหมดจะผสมกันกลายเป็นสีเดียวกกัน เนื่องจากการ การทำงานของดวงตาของเรา ถ้าวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ตาของเราจแยกสีที่เห็นไม่ทันจึงทำให้เราเห็นสีต่างๆ ผสมเป็นสีเดียวกัน





คำศัพท์

1. equipment                   อุปกรณ์
2. Activity                      กิจกรรม
3. pepper                       พริกไทย
4. Test                          ทดลอง
5. bubble                       ฟองสบู่



 การประเมิน



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะนำ และบอกวิธีการตั้งคำถาม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมดีมาก แต่ละกลุ่มผลัดกันออกมาทำกิจกกรมได้ดี
ประเมินตนเอง : ตั้งใจนำเสนองาน และร่วมกิจกรรม



วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning media 7 (11.09.2019)






Activities 1


แหล่งน้ำที่รู้จัก
          อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่มที่เคยอยู่ จากนั้นได้แจกกระดาษบรู๊ฟกลุ่มละหนึ่งแผ่น และให้ช่วยกันวาดรูปแหล่งน้ำที่ตนเองรู้จักมาหนึ่งแห่ง โดยไม่ให้บอกเพื่อนๆในชั้นเรียน ว่าแหล่งน้ำที่วาดคืออะไร จากนั้นให้ออกมานำเสนอ และให้เพื่อนๆทาย
กลุ่มที่ 1 เขื่อนเชี่ยวหลาน



กลุ่มที่ 2 ทะเลแหวกที่กระบี่



กลุ่มที่ 3 น้ำตกเจ็ดสาวน้อย (กลุ่มดิฉัน)



กลุ่มที่ 4 เขื่อนลำตะคอง



กลุ่มที่ 5 แม่น้ำโขงจังหวัดนครพนม



กลุ่มที่ 6 แม่น้ำเจ้าพระยา






Activities 2


          หลังจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษหนังสือพิมให้นักศึกษากลุ่มละ 20 แผ่น ให้นักศึกษาออกแบบแท้งค์น้ำให้ความสูงได้ 24 นิ้ว ให้มีลากฐานที่มั่นคงสามารถวางพานได้ในเวลา 10 วินาที เพื่อให้นักศึกษาได้คิดวางแผนและช่วยกันคิดช่วนกันออกแบบ
        


Knowlage


         วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมในสัปดาห์ที่แล้วว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 13 ทักษะ
โดยแยกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

 ทักษะพื้นฐานมีทั้งหมด 8 ทักษะ
          1. ทักษะการสังเกตุ
          2. ทักษะการวัด
          3. ทักษะการใช้ตัวเลข
          4. ทักษะการจำแนกประเภท
          5. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปคกับสเปค และ สเปคกับเวลา
          6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
          7. ทักษะการลงความคิดเห็น
          8. ทักษะการพยากรณ์

                  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะทางสติปัญญาที่ นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาต่างๆ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้

          1. ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นโดยไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป
          2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง
การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย
          3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การแบ่งพวก
หรือ เรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่มีอยู่ในปรากฏการณ์โดยมีกฎเกณฑ์ ซึ่งอาจเป็นความเหมือนความแตกต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง
          4. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนจะทดลองโดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยสรุป
          5. ทักษะการวัด (Measure) หมายถึง การเลือกและใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม
          6. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers) หมายถึง การนับจำนวน
ของวัตถุ และการนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
          7.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา(Using Space/Time Relationships) หมายถึงการหาความสัมพันธ์ ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป
          8. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Dataand Communicating) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัดการทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ และนำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ความหมาย

ทักษะขั้นสูง 5 ทักษะ
          1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน
          2. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
          3. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
          4. ทักษะการทดลอง
          5. ทักษะการแปลความหมายข้อมูล


คำศัพท์

1.ข้อมูล Inferring
2.การสังเกต Observing
3.การวัด Measure
4.การพยากรณ์ Predicting
5.การคำนวณ Using Numbers



ประเมิน 


ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์จะคอยทบทวนความรู้เดิมที่เคยเรียนกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆ ทุกคนมีความตั้้งใจเรียนดี ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย
ประเมินตนเอง :  ตั้งใจเรียน คอยช่วยเพื่อนตอบคำถาม 

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning media 6 (04.09.2019)


Activities



ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skill) หมายถึง ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนก การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยาม การกำหนดตัวแปร การทดลอง การวิเคราะห์ และแปรผลข้อมูล การสรุปผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ

ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะสำคัญที่แสดงถึงการมีกระบวนการคิด อย่างมีเหตุ มีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียน และผู้ปฏิบัติเกิดความเข้าใจในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองไปสู่กระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น

ประเภททักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะแสวงหาความรู้ และแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหา เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นตามหลักสูตร science a process approach (SAPA) ของสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (The American association for the advancement of science) ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษาปฐมวัย
2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษามัธยมวัย

ทักษะวิทยาศาสตร์

1. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เป็นทักษะเพื่อการแสวงหาความรู้ทั่วไป ประกอบด้วย

ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) 

หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถแสดงหรือบรรยายคุณลักษณะของวัตถุได้ จากการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
·       สามารถบรรยายคุณสมบัติเชิงประมาณ และคุณภาพของวัตถุได้
·       สามารถบรรยายพฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้

ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring) 

หมายถึง การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่วัดได้
·       สามารถบอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวัดได้
·       สามารถบอกวิธีการ ขั้นตอน และวิธีใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
·       สามารถทำการวัด รวมถึงระบุหน่วยของตัวเลขได้อย่างถูกต้อง

ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) 

หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์ การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถนับจำนวนของวัตถุได้ถูกต้อง
·       สามารถบอกวิธีคำนวณ แสดงวิธีคำนวณ และคิดคำนวณได้ถูกต้อง


ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying)

หมายถึง การเรียงลำดับ และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถเรียงลำดับ และแบ่งกลุ่มของวัตถุ โดยใช้เกณฑ์ใดได้อย่างถูกต้อง
·       สามารถอธิบายเกณฑ์ในเรียงลำดับหรือแบ่งกลุ่มได้

ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships) 

สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถอธิบายลักษณะของวัตถุ 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติ ได้
·       สามารถวาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูป 3 มิติ ที่กำหนดให้ได้
·       สามารถอธิบายรูปทรงทางเราขาคณิตของวัตถุได้
·       สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 มิติ กับ 3 มิติได้ เช่น ตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ และตำแหน่งหรือทิศของวัตถุต่ออีกวัตถุ
·       สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับเวลาได้
·       สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงขนาด ปริมาณของวัตถุกับเวลาได้

ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) 

หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถเลือกรูปแบบ และอธิบายการเลือกรูปแบบในการเสนอข้อมูลที่เหมาะสมได้
·       สามารถออกแบบ และประยุกต์การเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปใหม่ที่เข้าใจได้ง่าย
·       สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย
·       สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย


ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) 

หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายหรือสรุปจากประเด็นของการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มา

ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง 

การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้ 2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เป็นทักษะกระบวนการขั้นสูงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อแสวงหาความรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ประกอบด้วย

ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses)

หมายถึง การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองได้
·       สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้

ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally)

หมายถึง การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล 
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการทดลองได้

ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) 

หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม
ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งที่ต้องการทดลองเพื่อให้ทราบว่าเป็นสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นหรือไม่
ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดจากการกระทำของตัวแปรต้นในการทดลอง
ตัวแปรควบคุม คือ ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่อาจมีผลมีต่อการทดลองที่ต้องควบคุมให้เหมือนกันหรือคงที่ขณะการทดลอง
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถกำหนด และอธิบายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองได้


ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting)

หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3. การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถออกแบบการทดลอง และกำหนดวิธี ขั้นตอนการทดลองได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้
·       สามารถระบุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการทดลองอย่างเหมาะสม
·       สามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
·       สามารถบันทึกผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง

ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) 

หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ การลงข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และการสรุปผลความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปประเด็นสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการทดลองหรือศึกษา
ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
·       สามารถในการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นสำคัญ รวมถึงการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะของข้อมูล
·       สามารถบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้


คำศัพท์

  1. Observing                      การสังเกต
  2. Experimenting               การทดลอง
  3. Measuring                     การวัด
  4. Formulating hypotheses  การตั้งสมมติฐาน
  5. Classifying                    การจำแนกประเภท 

ประเมิน

ตัวเอง      ตั้งใจฟัง และตอบคำถามที่อาจารย์บอก พยายามมีส่วนร่วมในชั้นเรียน     


อาจารย์    อธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน ให้ความรู้ใหม่ๆได้ดีมาก


เพื่อนๆ     ทุกคนตั้งใจฟัง และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม






Learning media 15

แผนผังความคิด สรุปเทคนิคการสอนวิทยาสตร์ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ส่งเสริมฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต 2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศา...