Activities 1
แหล่งน้ำที่รู้จัก
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่มที่เคยอยู่ จากนั้นได้แจกกระดาษบรู๊ฟกลุ่มละหนึ่งแผ่น
และให้ช่วยกันวาดรูปแหล่งน้ำที่ตนเองรู้จักมาหนึ่งแห่ง โดยไม่ให้บอกเพื่อนๆในชั้นเรียน
ว่าแหล่งน้ำที่วาดคืออะไร จากนั้นให้ออกมานำเสนอ และให้เพื่อนๆทาย
กลุ่มที่ 1 เขื่อนเชี่ยวหลาน
กลุ่มที่ 2 ทะเลแหวกที่กระบี่
กลุ่มที่ 3 น้ำตกเจ็ดสาวน้อย (กลุ่มดิฉัน)
กลุ่มที่ 4 เขื่อนลำตะคอง
กลุ่มที่ 5 แม่น้ำโขงจังหวัดนครพนม
กลุ่มที่ 6 แม่น้ำเจ้าพระยา
Activities 2
หลังจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษหนังสือพิมให้นักศึกษากลุ่มละ
20 แผ่น ให้นักศึกษาออกแบบแท้งค์น้ำให้ความสูงได้ 24 นิ้ว
ให้มีลากฐานที่มั่นคงสามารถวางพานได้ในเวลา 10 วินาที
เพื่อให้นักศึกษาได้คิดวางแผนและช่วยกันคิดช่วนกันออกแบบ
Knowlage
วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมในสัปดาห์ที่แล้วว่าทักษะทางวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด
13 ทักษะ
โดยแยกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ทักษะพื้นฐานมีทั้งหมด 8 ทักษะ
1. ทักษะการสังเกตุ
2. ทักษะการวัด
3. ทักษะการใช้ตัวเลข
4. ทักษะการจำแนกประเภท
5. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปคกับสเปค และ สเปคกับเวลา
6. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
7. ทักษะการลงความคิดเห็น
8. ทักษะการพยากรณ์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นทักษะทางสติปัญญาที่
นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา
นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาต่างๆ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้
1. ทักษะการสังเกต (Observing)
หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์
เพื่อค้นหาข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นโดยไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป
2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
หมายถึง
การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง
การแบ่งพวก
หรือ เรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่มีอยู่ในปรากฏการณ์โดยมีกฎเกณฑ์
ซึ่งอาจเป็นความเหมือนความแตกต่างหรือความสัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง
4. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง
การคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนจะทดลองโดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำ หลักการ กฎ
หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยสรุป
5. ทักษะการวัด (Measure) หมายถึง
การเลือกและใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ
ออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม
6. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers) หมายถึง
การนับจำนวน
ของวัตถุ และการนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
7.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา(Using
Space/Time Relationships) หมายถึงการหาความสัมพันธ์
ระหว่างมิติของวัตถุ
ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนตำแหน่งหรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป
8.
ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Dataand
Communicating) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
การวัดการทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่
และนำเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ความหมาย
ทักษะขั้นสูง 5 ทักษะ
1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน
2. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
3. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
4. ทักษะการทดลอง
5. ทักษะการแปลความหมายข้อมูล
คำศัพท์
1.ข้อมูล Inferring
2.การสังเกต Observing
3.การวัด Measure
4.การพยากรณ์ Predicting
5.การคำนวณ Using Numbers
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ :
อาจารย์จะคอยทบทวนความรู้เดิมที่เคยเรียนกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ ทุกคนมีความตั้้งใจเรียนดี
ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน คอยช่วยเพื่อนตอบคำถาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น