คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning media 8 (18.09.2019)



Activities 1




           วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาทำการทดลองหน้าชั้นเรียน ตามที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้ เพื่อให้สามารถตรงกับทักษะวิทยาศาสตร์ 13 ประการ

กลุ่มที่ 1 : ลูกโป่งพองโต



อุปกรณ์
1. ขวดแก้ว
2. กรดมะนาว
3. เบคกิ้งโซดา
4. ลูกโป่ง
5. น้ำเปล่า
6. ช้อนโต๊ะ
7. แก้วเปล่า

วิธีการทดลอง
1. เทเบคกิ้งโซดาลงไปในขวดแก้วทั้ง 3 ขวด ขวดละ 1 ช้อน
2. เทกรดมะนาวลงในขวดที่เทเบคกิ้งโซดาลงไป โดนแต่ละขวดจะใส่กรดมะนาวในปริมาณที่ไม่เท่ากัน โดยที่ ขวดที่ 1 ใส่ 1 ช้อน ขวดที่ 2 ใส่ 2 ช้อน ขวดที่ 3 ใส่ 3 ช้อน
3. เทน้ำเปล่าลงไปในขวดแล้วนำลูกโป่งมาปิดที่ปากขวดแต่ละขวด
4. สังเกตลูกโป่งของแต่ละขวด

 ผลจากการทดลอง
            การทดลองนี้มีสารที่เด็กๆ รู้จักมาบ้างแล้วจากการทดลองที่ผ่านมา คือ ผงฟู เบคกิ้งโซดา กรดมะนาว เราได้ทำการทดลองโดยใส่สารที่มีปริมาณแตกต่างกัน ให้เด็กสังเกตและเมื่อเติมน้ำหรือเปลี่ยนเป็นน้ำมะนาว   บ้าง น้ำส้มสายชูบ้าง ให้เด็กสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง ความแตกต่าง คุณครูได้จดบันทึกคำพูดของเด็กๆ แทบไม่ทันทีเดียว หลังจากนั้นก็ใช้สารทุกชนิดใส่ในแต่ละขวด ใส่น้ำหรือน้ำส้มสายชู สังเกตลูกโป่งแต่ละลูก


กลุ่มที่ 2 : ภูเขาไฟลาวา



อุปกรณ์
1. ปล่องภูเขาไฟที่ทำจากขวดน้ำและดินน้ำมัน
2. ถาดลองภูเขาไฟ
3. สีผสมอาหาร
4. น้ำส้มสายชู
5. เบคกิ้งโซดา

วิธีการทดลอง
1. เทสีผสมอาหารลงไปในภูเขาไฟ
2. เทน้ำส้มสายชูลงไป
3. เทเบคกิ้งโซดาตามลงไป
4. สังเกตสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ผลจากการทดลอง
          ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เป็นผลจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเบคกิ้งโซดา ( ด่าง / เบส ) และน้ำส้มสายชู ( กรด ) ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดันตัวออกนี้เองที่ทำให้เกิดภูเขาไฟลาวาของเรานั้นเอง

กลุ่มที่ 3 : การลอยจมของน้ำมัน (กลุ่มดิฉัน)





อุปกรณ์
1. ช้อน
2. น้ำ
3. น้ำมัน
4. ก้อนหิน
5. โหล ( สำหรับใส่ส่วนผสม )

วิธีการทดลอง
1. เทน้ำใส่โหล
2. เทน้ำมันตามลงไป
3. ตักก้อนหินเทลงไป 1 ช้อน
4. ปิดฝาขวกโหล และทำการเขย่าขวดโหล
5. สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          จากาารทดลองจะเห็นได้ว่า น้ำ น้ำมัน ก้อนหิน ได้แยกชั้นกันอย่างชัดเจนเพราะน้ำมันมีน้ำหนักหรือความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจึงลอยขึ้น และก้อนหินมีน้ำหนักและความหนาแน่นมากกว่าน้ำจึงทำให้ก้อนกชหินจมลงไปอยู่ข้างล่างของโหล
          ที่วัตถุแต่ละชนิดไม่ผสมกัน และแยกตัวออกจากกันอย่างชัดเจน เพราะวัตถุแต่ละชนิดมีความเป็นอิสระ


กลุ่มที่ 4 : การแยกเกลือกับพริกไทย



อุปกรณ์
1. ผ้าขนสัตว์
2. กลือเม็ดขนาดปานกลาง
3. พริกไทยป่น
4. ชามใบเล็ก

การทดลอง
1. ผสมเกลือและพริกไทยลงในถ้วยใบเล็ก
2. ถูช้อนพลาสติกด้วยผ้าขนสัตว์
3. ถือซ้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลืออย่าถือช้อนไว้ใกล้กับส่วนผสมมากเกิน
4. สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          ปรากฏการณ์หลายอย่างในชีวิตจำวันของเรานั้นมีสาเหตุจากไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิตเป็นประโยชน์กับเราเราจะแยกสารทั้งสองออกจากกันได้อย่างไรจึงทำการทดลองสร้างไฟฟ้าสถิตแล้วใช้ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นแยกเกลือและพริกไทยออกจากกันได้ โดนพริกไทยจะลอยขึ้นมาติดช้อน และเกลือจะค่อยๆหลุดลงมา


กลุ่มที่ 5 : ภาพเคลื่อนไหวในแสงสีแดงและสีเขียว



อุปกรณ์
1. ปกใสสีแดง และ สีเขียว
2. สีไม้สีแดง และ สีเขียว
3. กระดาษ A4

การทดลอง
1. วาดรูปลงในกระดาษโดยใช้สีไม้สีแดงและสีเขียว
2. นำปกใสสีแดงวางทับบนกระดาษที่เราได้ทำการวาดรูป
3. เปลี่ยนเป็นนำปกสีเขียววางทับกระดาษที่เราวาดรูป
4. สังเกตุและเปรียบเทียบข้อแตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          มีการเปลี่ยนสีของสีไม้เป็นสีดำ ถ้าใช้สีเดียวกันปิดสีเดียวกันเพราะเป็นการดูดกลืนแสงทำให้ไม่มีแสงส่งมากระทบที่ดวงตาของเราทำให้เรามองไม่เห็นสี
          เมื่อใช้ปกใสสีเขียววางทับส่วนที่วาดด้วยสีไม่สีแดง แสงสีเขียวจะดูดกลืนแสงสีแดงกลายเป็นสีดำ


กลุ่มที่ 6 : ลูกข่างแสนสนุก



อุปกรณ์
1. แผ่นซีดี
2. กระดาษที่ตัดคล้ายแผ่นซีดี
3. สีไม้
4. ลูกแก้ว
5. กินน้ำมัน
6. ปืนกาว

การทดลอง
1. ระบายสีลงในกระดาษที่เตรียมไว้ ให้เต็มแผ่น
2. นำกระดาษที่ระบายสีเรียบร้อบแล้วติดลงบนแผ่นซีดี
3. นำลูกแก้วไปติดไว้ตรงรูของแผ่นซีดีด้านล่างแล้วใช้ดินน้ำมันยึดและใช้ปืนกาวยิงอีกที
4. ทำการหมุนแผ่นซีดี แล้วสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
          จากการทดลองจะเห็นได้ว่า สีที่เราระบายลงบนแผ่นกระดาษนั้น พอเราหมุนลูกข่างแล้วสีทั้งหมดจะผสมกันกลายเป็นสีเดียวกกัน เนื่องจากการ การทำงานของดวงตาของเรา ถ้าวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ตาของเราจแยกสีที่เห็นไม่ทันจึงทำให้เราเห็นสีต่างๆ ผสมเป็นสีเดียวกัน





คำศัพท์

1. equipment                   อุปกรณ์
2. Activity                      กิจกรรม
3. pepper                       พริกไทย
4. Test                          ทดลอง
5. bubble                       ฟองสบู่



 การประเมิน



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะนำ และบอกวิธีการตั้งคำถาม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมดีมาก แต่ละกลุ่มผลัดกันออกมาทำกิจกกรมได้ดี
ประเมินตนเอง : ตั้งใจนำเสนองาน และร่วมกิจกรรม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning media 15

แผนผังความคิด สรุปเทคนิคการสอนวิทยาสตร์ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ส่งเสริมฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต 2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศา...