E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood Semester 1 /2562
วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562
Learning media 4 (21.08.2019)
Activities
วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปศึกษาดูงาน
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2562 ณ
ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (Hall 6-12)
เมืองทองธานี ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ
เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี
2562
แนวคิดในการจัดงาน
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศ จัดขึ้นเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรม
จากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ
เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำสมัย
สามารถสร้างความตื่นเต้นสร้างแรงบันดาลใจ
และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย
โดยเป็นโอกาสที่ประชาชนและเยาวชนทั่วไปจะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้รับประสบการณ์ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่สนุกสนาน
ซึ่งจะก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวก กระตุ้นการคิดและการตั้งคำถาม
และนำไปสู่การเป็นผู้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิตทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
รูปแบบของกิจกรรมในงานเป็นคล้าย
เทศกาลวิทยาศาสตร์ (science festival) ในหลายประเทศ คือประกอบด้วย
การจัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรูปแบบทันสมัยที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วม (interactive exhibition) โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
(New S-Curve) นอกจากนี้ยังนำเสนอประเด็นการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตโลก เช่น ภาวะโลกร้อน ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และอื่นๆ
โดยเป็นการรวมพลังของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย
เพื่อจัดแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ผลงานการวิจัย
เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ
การประกวดและแข่งขันทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนและประชาชน กิจกรรมการเรียนรู้แบบ
Hands-on ในแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับทุกช่วงวัย
การประชุม สัมมนา อภิปราย ฝึกอบรม ทางวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี
และการแสดงสินค้าทาง ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การจัดงานในปี 2562 ภายใต้แนวคิดหลัก (Theme) “จุดประกายความคิด
พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม”
ภายในงานผู้เข้าชมจะสนุกสนานไปกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน
จุดประกายความคิด เปิดจินตนาการ และสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนไทย
ซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อแสดงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมที่นำสมัย
โดยไฮไลต์สำคัญของงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562 ประกอบไปด้วย 9 นิทรรศการหลัก ได้แก่
1. นิทรรศการเทิดพระเกียรติ
จัดแสดง พระอัจฉริยภาพ
“พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พระอัจฉริยภาพพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
ที่เป็นคุณูปการต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาของประเทศไทย
2. ภารกิจพิชิตดวงจันทร์
นำเสนอการร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี แห่งภารกิจการพิชิตดวงจันทร์
3. ยอดนักประดิษฐ์ผู้คิดเปลี่ยนโลก
พบเรื่องราวของบุรุษผู้เป็นนักคิด
นักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์ นิโคลา เทสลา อัจฉริยะชาวโครเอเชีย
ผู้ปูพื้นฐานแห่งระบบไฟฟ้ากระแสสลับและเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับโลกในปัจจุบัน
4. มหัศจรรย์เมืองแห่งธาตุ
นำเสนอ "ธาตุ"
ตามสมบัติที่โดดเด่นของหมวดหมู่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในบรรยากาศตื่นตาตื่นใจที่แสดงถึงลักษณะและสมบัติของธาตุที่โดดเด่นในหมวดหมู่นั้น
ๆ
5. พินิจ พิพิธ-พันธุ์
เรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการจัดแสดงในรูปแบบของ Collection
base ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
6. พลาสติกพลิกโลก
ทุกคนสามารถร่วมมือกันแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้โดยเริ่มที่ตัวเราเพียงใช้อย่างเหมาะสม
ใช้เท่าที่จำเป็น และจัดการอย่างถูกวิธี ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. ข้าวคือชีวิต
นำเสนอความสำคัญของข้าวต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในเขตภูมิภาคหนึ่งของโลก
8. ย้อนอดีตสิ่งประดิษฐ์พลิกความคิดสู่อนาคต
นิทรรศการและกิจกรรมนำเสนอถึงการย้อนไปในอดีตของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยน
เรียนรู้วิวัฒนาการของสิ่งประดิษฐ์ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
9. Lego Space Challenge Land
กิจกรรมการคิด ประดิษฐ์ สร้างสรรค์
จินตนาการจากเลโก้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะให้กับเยาวชน ได้ทุกช่วงวัย
นำเสนอในรูปแบบของการลงมือปฏิบัติจริง
ผู้ร่วมจัดแสดงอื่น
ๆ อีกกว่า 102 หน่วยงาน 17 ประเทศ
นอกจากนิทรรศการแล้ว
ยังมีการร่วมจัดแสดงของหน่วยงานต่าง ๆ 38 หน่วยงานจากกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 18 หน่วยงานจากกระทรวงต่าง ๆ
ภาครัฐ 28 หน่วยงานต่างประเทศ รวม 16
ประเทศ และ 18 หน่วยงานภาคเอกชน, สมาคม
เต็มพื้นที่ 40,000 ตางรางเมตร
ตัวอย่างหน่วยงานที่เข้ามาร่วมจัดเช่น
·
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
·
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
·
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
·
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
·
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
ซึ่งจะเป็นทั้งการจัดแสดงนิทรรศการตามเหตุการณ์สำคัญและโชว์ผลงานของแต่ละกระทรวงรวมถึงมีการจัดกิจกรรมต่าง
ๆ มากมาย สามารถดูแผนผังของงานได้ที่ NST Maps โดย ณ เวทีกลางก็จะมีกิจกรรมเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น แถลงข่าว Thailand Space Week, พิธีมอบรางวัลประกวดรางวัล
นวัตกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมวิทย์, เสวนาเส้นทางนี้มีให้ถึงอวกาศ,
มอบรางวัลภาพถ่ายดาราศาสตร์ สดร. และอีกมากมาย
คำศัพท์
1.
Festival เทศกาล
2.
Science วิทยาศาสตร์
3.
Invention สิ่งประดิษฐ์
4.
Element ธาตุ
5.
Creativity ความคิดสร้างสรรค์
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562
Learning media 3 (16.08.2019)
Activities 1
วันนี้อาจารย์ได้นัดหมายให้มาเรียนพร้อมกันทั้ง
2 กลุ่มเรียน เพื่อจับกลุ่มงาน และนำเสนอข้อมูล ซึ่งทั้งหมด 6 เรื่อง ดังนี้ เครื่องกล
เรื่องแสง เรื่องน้ำ เรื่องอากาศ เรื่องดิน และเรื่องเสียง ข้อมูลที่ต้องหามามี ดังนี้
· แหล่งที่มา
· ลักษณะ
· ประเภท(การคิดจัดหมวดหมู่)
· ประโยชน์
· ความสัมพันธ์
· ข้อดี-ข้อเสีย
· การดูแลรักษา
· เกิดกระบวนการและทักษะทางวิทยาศาสตร์(ทำของเล่นอะไรได้)
· สภาพแวดล้อมให้เด็กได้ศึกษา
โดยกลุ่มของดิฉันได้เรื่อง
น้ำ หลังจากที่ระดมความคิด และช่วยกันหาข้อมูล ก็ได้เนื้อหาความรู้ที่สรุปได้พอสังเขป
ดังนี้
เรื่อง น้ำ
แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำ
คือบริเวณที่มีการสะสมของน้ำบนพื้นผิวโลกหรือบนผิวดาวเคราะห์ เช่น มหาสมุทร ทะเล
แม่น้ำ ไปจนถึง คลอง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ
แบ่งเป็น2ประเภท
1.ธรรมชาติ
1. แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric
Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง
และสถานะของแข็ง ได้แก่ หิมะ และลูกเห็บ
2. แหล่งน้ำผิวดิน (Surface Water) ได้แก่
น้ำในบรรยากาศที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำและตกลงสู่ผิวโลก ไหลลงมาขังตามแอ่งที่ต่ำ เช่น
หนอง บึง แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ
3. แหล่งน้ำใต้ดิน (Ground Water) เป็นน้ำที่ไหลซึมผ่านชั้นดิน
และหิน ลงไปสะสมตัวอยู่ตามช่องว่างระหว่างอนุภาคดินและหิน
4. น้ำที่เป็นส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Water)
ได้แก่
น้ำที่เป็นองค์ประกอบทางเคมี หรือเป็นองค์ประกอบในแร่ หิน และดิน
และแหล่งน้ำในบรรยากาศ
2.แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
1. บ่อน้ำ
2. อ่างเก็บน้ำ
3. เขื่อน
น้ำเป็นของเหลวที่ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น
ที่อุณหภูมิและความดันปกติ สีของน้ำตามธรรมชาติเป็นสีโทนน้ำเงินอ่อน ๆ
แม้ว่าน้ำจะดูไม่มีสีเมื่อมีปริมาณน้อย ๆ ก็ตาม น้ำแข็งก็ดูไม่มีสีเช่นกัน
และสำหรับน้ำในสถานะแก๊สนั้นโดยปกติเราจะมองไม่เห็นมันเลย
2. ใช้บ่อดักไขมันและนำไขมันไปจัดการให้ถูกต้อง
3. ลดปริมาณและความสกปรกของเสียและน้ำเสียที่ระบายจากสถานประกอบการ
หรือแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆ โดยการลดปริมาณน้ำใช้ การนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีก
โดยเฉพาะการเกษตรในพื้นที่ข้างเคียง
4. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย
น้ำเสียและของเสียลงสู่แหล่งน้ำและทางระบายน้ำสาธารณะ
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตทุกชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่
ตลอดจนพืชถ้าขาดน้ำก็จะต้องแห้งเหี่ยวและเฉาตายในที่สุด
มนุษย์ต้องใช้น้ำสัมพันธ์อยู่กับชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด เช่น
ใช้น้ำสำหรับดื่ม ใช้หุงต้มอาหาร ใช้ชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ใช้ซักเสื้อผ้า
ใช้ในเครื่องทำความร้อน เครื่องลดความร้อน เช่นในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท
และใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
Activities 2
หลังจากที่ได้สรุปเนื้อหาความรู้ในเรื่องของน้ำแล้วนั้น
อาจารย์ก็ได้ให้สรุปอีกครั้งเป็นประโยคสั้นๆ นั่นคือ น้ำสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะได้โดยการควบแน่น ไหลจากที่สูง ลงที่ต่ำ มีแรงตรึงผิว จุดเดือดต่ำ แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำ
คือบริเวณที่มีการสะสมของน้ำบนพื้นผิวโลกหรือบนผิวดาวเคราะห์ เช่น มหาสมุทร ทะเล
แม่น้ำ ไปจนถึง คลอง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ หลังจากนั้น อาจารย์ก็ได้ให้คิดสื่อที่เกี่ยวกับน้ำมา 4 ชนิด
สื่อที่กลุ่มของดิฉันเลือกทำมี ดังนี้
· น้ำในน้ำ
· น้ำ 7 สี
·
น้ำพุจำลอง
คำศัพท์
1.
Atmospheric Water แหล่งน้ำในบรรยากาศ
2.
Surface Water แหล่งน้ำผิวดิน
4.
Chemical Water น้ำที่เป็นส่วนประกอบทางเคมี
5.
Treatment การดูแลรักษา
ประเมิน
ตัวเอง ตั้งใจหาข้อมูล
และสื่ออย่างเต็มที่ เพื่อให้งานออกมามีความน่าเชื่อถือ น่าสนใจมากที่สุด
อาจารย์ อาจารย์ให้คำปรึกษาดีมาก
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูลการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำในเรื่องการทำสื่อที่เหมาะสม
เพื่อนๆ สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่
แต่เนื่องจากเรียนรวม 2 กลุ่มเรียน จึงทำให้ค่อนข้างเสียงดัง และวุ่นวาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Learning media 15
แผนผังความคิด สรุปเทคนิคการสอนวิทยาสตร์ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ส่งเสริมฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต 2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศา...
-
Activities 1 วันนี้อาจารย์ให้ออกมาทำการทดลองอีกครั้งก่อนที่จะออกไปทำการทดลองกับเด็กๆ ในสถานที่จริง และถือเป็นการเตรีย...
-
Activities วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ ซึ่งมีทั้งหมด 4 สาขา ได้แก่ สาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาพลศ...