Activities 1
วันนี้อาจารย์ได้มีการนำเว็บไซต์
padlet.com มาใช้ในการเรียนการสอน โดยอาจารย์ให้จับกลุ่ม 6
กลุ่ม แล้วถามคำถามเกี่ยวกับวิชาเรียน หลังจากนั้นให้สมาชิกในกลุ่มได้ไปตอบคำถามใน
padlet
คำถามที่ 1
นักศึกษาคิดว่ารายวิชาการจัดประสบการณ์วิททยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นต้องศึกษาเกี่ยวกับอะไรบ้าง
คำตอบของดิฉัน
= สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก,ธรรมชาติรอบตัวเด็ก,วงจรชีวิตของสิ่งต่างๆ เช่น สัตว์
ต้นไม้,การสังเกตสิ่งต่างๆเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง,การทำการทดลอง
Activities 2
อาจารย์พูดถึงการทำงานของสมอง ซึ่งอ้างอิงมาจากนักทฤษฎี คือ เพียเจตต์
โดยสามารถสรุป ดังนี้
เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อมที่
จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active) นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
2 ชนิด คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว (Adaptation) ซึ่งอธิบายดังต่อไปนี้ การจัดและรวบรวม
(Oganization) หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่างๆ
ภายใน เข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบ และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตราบที่
ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การปรับตัว (Adaptation) หมายถึง
การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุล การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ
2 อย่าง คือ
1. การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2.การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation) หมายถึง
การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่
หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่
ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา รากฐานทางปรัชญาของทฤษฎีมาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจาก การไตร่ตรอง ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับหลักฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของเพียเจต์เอง
ซึ่งเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ (Equilibrium) ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
สรุปแล้วในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ
2 อย่าง คือ
การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accomodation) เพียเจต์กล่าวว่า
ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น
คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น โดยเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์
ไว้ 4 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา
2. ขั้น Preoperational
3. ขั้น Concrete
Operations
4. ขั้น Formal
Operations Advertisement
อาจารย์ยังได้เพิ่มเติมความรู้ของการเรียนวันนี้ด้วย คือ
เป็นครูปฐมวัยต้องรู้เรื่องการทำงานของสมอง เพราะเรามีหน้าที่ดูแลเด็กในช่วงที่มีการพัฒนาสมองมากที่สุด วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ของเด็กคือการเล่น การลงมือปฏิบัติจริง เนื้อหาจากง่ายไปหายาก ควรสอดคล้องกับพัฒนาการ เพราะเด็กแต่ละช่วงวัย มีความสามารถที่ต่างกัน การทำงานของสมอง คือ ทำงานผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ผ่านการกระทำจากวัตถุ สมองจะซึมซับ และมีการปรับโครงสร้าง เพื่อเกิดความรู้ใหม่ จากนั้นจะเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม และเกิดการเรียนรู้ เพื่อการอยู่รอด
คำศัพท์
1. Adaptation การปรับตัว
2. Accomodation การปรับโครงสร้างทางปัญญา
3. Assimilation การซึมซาบหรือดูดซึม
4. Active การกระทำ
5. Equilibrium สภาวะสมดุลย์
ประเมิน
อาจารย์ อาจารย์สอนได้เข้าใจ
สามารถอธิบายเนื้อหาความรู้ได้อย่างละเอียด และได้เปิดให้ทุกคนได้ถาม-ตอบ
ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาความรู้ รวมไปถึงความคิดเห็นอีกด้วย
ตนเอง ตั้งใจฟัง
และบันทึกสิ่งที่อาจารย์พูด ตอบคำถาม และ แสดงความคิดเห็น มี eye
contact ตอบโต้กับอาจารย์
เพื่อนๆ ตั้งใจฟัง
และช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น