สรุปวิจัย
เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์ มยุรี ศรีทอง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนาคม 2554
ในการวิจัยครั้งนี้
เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
โดยแยกเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับของความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายด้านที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
การศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
เพื่อสามารถนำมาพัฒนาความรู้ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
รวมทั้งการพัฒนาความรู้ด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป
ประชากร เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 5
- 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่
1 ปี การศึกษา 2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ซึ่งมี
2 ห้องเรียน จำนวน 70 คน
กลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 5
- 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่
1 ปี การศึกษา 2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก
1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้อง
แล้วทำการจับสลากนักเรียนจำนวน 20 คน
เพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
1. ตัวแปรอิสระ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. ตัวแปรตาม ความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การศึกษาในครั้งนี้
ผู้วิจัยได้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5
วัน วันละ 45 นาที
กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดลองทั้งสิ้น 40 ครั้ง ตามแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
- แผนการสอนสัปดาห์ที่1 วันจันทร์
- แผนผังแสดงภาพรวมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
-
ตัวอย่างแบบทดสอบ
-
ภาพการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
สรุปบทความ
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น
ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว
และเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน
หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน
สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์
เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้
พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ
การวัด การคาดคะเน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์
เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์
เช่น เด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้
1.ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
2.ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
3.เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
4.ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
5.กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
6.ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย
1.ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
2.ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
3.เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
4.ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
5.กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
6.ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย
เรื่อง ผลไม้แสนสนุก
โดย ครูไพพร ถิ่นทิพย์
ผลไม้แสนสนุก เป็นการสอนกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล
โดยในวิดีโอนี้จะใช้วิธีพาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง ก็คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้
ที่ตลาด โดยจะใช้การบูรณาการกิจกรรมต่างๆ เข้าไปในกิจกรรมครั้งนี้
จะบูรณาการเข้ากับวิทยาศาสตร์ จะทำให้เด็กได้คิด ได้สังเกต ได้ลองชิม
ได้สัมผัสกับผลไม้ของจริง
ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ใช้ตา ในการมอง การสังเกต , ใช้มือ
ในการสัมผัสผิวของผลไม้แต่ละชนิด , ใช้จมูก ในการดมกลิ่น ,
ใช้หู ในการแยกเสียง , ใช้ลิ้น
เพื่อรับรู้รสชาติ ความแตกต่างของผลไม้แต่ละชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น